มาตรฐาน 5ส

1. แสดงข้อมูลต่าง ๆ ในระบบดิจิตัล โดยจัดแสดงข้อมูลในเวบไซต์หน้าหลักของหน่วยงาน ระบุว่า “5ส Green หรือ Green 5s (ชื่อหน่วยงาน)”
2. มีผังโครงสร้างคณะกรรมการ 5ส หน่วยงาน พร้อมรูปถ่าย
3. มีข้อมูลแสดงการแบ่งพื้นที่และผู้รับผิดชอบ
4. มีการกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ ที่สามารถตรวจวัดได้
5. มีแผนปฏิบัติกิจกรรม 5ส โดยมีการระบุเป้าหมายที่สามารถวัด และประเมินผลได้
6. มีข้อมูลมาตรฐานกลาง 5ส ที่กำหนดไว้สำหรับอ้างอิง
7. มีรูปภาพ ข้อมูล กิจกรรมตามแผนปฏิบัติกิจกรรม 5ส ของหน่วยงานก่อนและหลังการประเมิน

1. มีป้ายบ่งชี้สถานะสิ่งของ/กิจกรรมที่กำลังดำเนินการตามความจำเป็น
2. มีป้ายบ่งชี้บริเวณที่ไม่ปลอดภัย หรือพื้นที่เสี่ยงอันตราย
3. ป้ายบ่งชี้ตามข้อ 1 และข้อ 2 อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน

  1. ป้ายชื่อ
  • ป้ายชื่อระบุรับผิดชอบ/ผู้ปฏิบัติงาน
  • โดยแสดงชื่อ ตำแหน่ง เบอร์โทร รูปถ่าย หรือชื่อแผนก (ถ้ามี)
  • ติดแสดงไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นได้โดยง่าย
  • รูปแบบและขนาดของป้ายเป็นไปในรูปแบบเดียวกันในหน่วยงาน
  1. ของใช้ส่วนตัว
  • การจัดวางของใช้ส่วนตัว ให้มีการกำหนดพื้นที่วางของใช้ส่วนตัว ไม่เกิน 1 ใน 3 ของพื้นที่บนโต๊ะ
  • มีป้ายระบุคำว่า “ของใช้ส่วนตัว” ที่ลิ้นชักของโต๊ะทำงาน หรือตู้ใต้เคาน์เตอร์โดยมีรูปแบบเดียวกันในหน่วยงาน
  • กรณีโต๊ะทำงานที่มีลิ้นชักสามารถจัดเก็บของใช้ส่วนตัวได้ไม่เกิน 1 ลิ้นชัก
  1. อุปกรณ์สำนักงาน
  • กรณีเป็นลิ้นชัก ให้มีป้ายระบุคำว่า “อุปกรณ์สำนักงาน” มีรูปแบบเดียวกัน
  • อุปกรณ์สำนักงานมีปริมาณที่เหมาะสมกับความถี่ของการใช้งานและถูกจัดเก็บอย่างเรียบร้อย และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  • กรณีมีถาดเอกสาร หรือชั้นเอกสาร หรือตะแกรง 3 ชั้น ควรมีได้ไม่เกินโต๊ะละ 2 ชิ้น หรือตามความเหมาะสมของหน้าที่ปฏิบัติ
  1. การจัดเก็บอุปกรณ์ใต้โต๊ะ
  • ใต้โต๊ะทำงานหรือเคาท์เตอร์มีกล่องใส่อุปกรณ์ต่างๆ ได้ไม่เกิน 1 กล่อง
  • กรณีที่มีรองเท้า (ไม่เกิน 2 คู่) ให้มีการบ่งชี้จุดจัดวาง
  • ในภาพรวมโต๊ะทำงาน เก้าอี้ และเคาน์เตอร์มีความสะอาดเรียบร้อย
  1. มีการจัดทำผังบอกตำแหน่งการจัดวางตู้พร้อมระบุชื่อผู้รับผิดชอบ และรัหสโค๊ดของแต่ละตู้
  • ลำดับการจัดวางลำดับของตู้/ชั้นวาง ให้เรียงจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง กำหนดให้ใช้ตัวเลขอารบิกเป็นรหัสของตู้
  • ในกรณีที่มีการจัดเก็บในหลายห้อง ให้มีการเรียงลำดับตัวเลขของตู้/ชั้นวาง แยกเป็นของแต่ละห้อง และอาจตามด้วยโค๊ดประจำห้อง
  • หน้าตู้เก็บเอกสาร/ตู้เก็บอุปกรณ์สำนักงานฯ ไม่ต้องติดชื่อผู้รับผิดชอบ และประเภทของสิ่งของภายในตู้/ชั้นวางอีก
  1. ภายในตู้ให้มีป้ายดัชนีบ่งชี้แสดงรายละเอียดของเอกสาร/วัสดุอุปกรณ์ที่จัดเก็บให้ เพื่อให้สะดวกในการค้นหา โดยต้องเป็นรูปแบบเดียวกันในหน่วยงาน             
  1. มีการจัดเก็บเอกสารต่าง/คู่มือ/หนังสือ/รายงาน/วัสดุอุปกรณ์ให้เป็นหมวดหมู่ และจัดวางอย่างเป็นระเบียบ
  1. ในกรณีมีการจัดวางสิ่งของบนตู้ ให้จัดวางอย่างเป็นระเบียบ มีความปลอดภัย และเป็นระเบียบเรียบร้อย และของที่วางบนตู้ได้
  1. ไม่มีการจัดเก็บของใช้ส่วนตัว
  2. มีความสะอาดเรียบร้อย
  3. สามารถค้นหาวัสดุ หรือเอกสารที่เก็บในตู้ได้ภายในเวลา 30 วินาที
  1. รูปแบบสันแฟ้มมีตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ชื่อของหน่วยงาน และดัชนีกำกับประจำแฟ้มตามที่กำหนดของแต่ละหน่วยงาน โดยใช้แบบอักษรประเภทเดียวกันในขนาดที่เหมาะสม
  1. มีป้ายแสดงรายการแฟ้มเอกสาร ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม และเห็นได้อย่างชัดเจน

3. จัดวางแฟ้มในชั้น/ตู้เก็บเอกสารให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

  1. มีป้ายแสดงบาร์โค้ดบริเวณด้านหลังของจอคอมพิวเตอร์ ด้านบนของ CASE และด้านบนของ UPS (ถ้ามี)
  1. คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับการใช้งาน ในกรณีที่จอมากกว่า 1 จอ ต้องมีฐานยึดที่มีความมั่นคงแข็งแรง
  1. ไม่มีอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องวางบริเวณเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
  2. ไม่ติดกระดาษโน๊ต สติกเกอร์ หรือข้อความใด ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์
  3. จัดเก็บสายไฟ และสายของอุปกรณ์ต่อพ่วงให้เป็นระเบียบ
  4. สะอาด ไม่มีฝุ่น และคราบสกปรก
  5. ไม่วางคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งใต้เครื่องปรับอากาศ หรือใกล้น้ำ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีความชื้นสูง
  1. โทรศัพท์ต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ให้เห็นชัดเจน
  2. โทรสารต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง และมีชื่อผู้รับผิดชอบ
  3. ให้มีการแสดงหมายเลขติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดวางบริเวณที่สะดวกต่อการใช้งาน
  1. เครื่องพรินเตอร์ต้องแสดงเบอร์โทรสำหรับติดต่อช่าง/หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และระบุชื่อผู้รับผิดชอบประจำเครื่องพรินเตอร์
  1. เครื่องถ่ายเอกสารต้องมีเบอร์โทรติดต่อช่าง/หน่วยงานผู้รับผิดชอบ และมีชื่อผู้รับผิดชอบประจำเครื่องถ่ายเอกสาร
  1. ตัวเครื่องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และสะอาด
  2. สายไฟไม่ชำรุด และมีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ
  3. มีกระดาษ และอุปกรณ์รองรับกระดาษพร้อมใช้งาน และจัดเป็นระเบียบ
  4. การจัดวางตัวเครื่องอุปกรณ์สำนักงานให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกแก่การใช้งาน และมีความปลอดภัย
  1. สะอาด ไม่มีฝุ่น และคราบสกปรก
  2. มีแผนภาพหรือสัญลักษณ์ แสดงตำแหน่งการจัดวาง อุปกรณ์ ที่ระบุทั้งชนิดและปริมาณ ติดแสดงไว้ในตำแหน่งที่สังเกตได้

12. มีกระบวนการสื่อสารภายในหน่วยงานให้บุคคลในหน่วยงานเข้าใจตรงกัน

  1. จัดวางสิ่งของ อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบ
  2. มีความสะอาดไม่มีคราบสกปรก ไม่ชำรุด และพร้อมใช้งาน
  3. ระบุผู้รับผิดชอบ/ดูแลห้องรับแขก/มุมรับแขก
  1. มีแผนผังหรือแถบสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายอื่นใด ที่ระบุตำแหน่งของหลอดไฟในสำนักงานได้อย่างถูกต้อง และชัดเจน

2. สวิทซ์ไฟอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่ชำรุด มีความปลอดภัย

เครื่องปรับอากาศอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

  1. มีแผนผังแสดงตำแหน่งการจัดเก็บไว้ภายในห้องเก็บของ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
  2. มีป้ายชื่อระบุผู้รับผิดชอบ ระบุประเภทของวัสดุ – อุปกรณ์อย่างชัดเจน
  3. มีการจัดเก็บวัสดุ – อุปกรณ์ เป็นหมวดหมู่ แยกเป็นประเภทไม่ปะปนกัน
  4. ไม่มีวัสดุ – อุปกรณ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
  5. มีระบบในการควบคุมวัสดุ – อุปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ
  6. ถ้ามีที่เก็บเป็นตู้ ชั้นให้ใช้หลักการเดียวกันกับตู้ ชั้นที่เก็บของในห้องปฏิบัติการ
  7. เอกสาร (ระบุลักษณะของเอกสาร) ที่มีอายุเกิน 1 ปี ที่จำป็นต้องเก็บไว้ ให้จัดเก็บพร้อมระบุข้อความผู้ดูแลรับผิดชอบกำกับไว้
  1. พื้นที่จัดเก็บมีความสะอาด ไม่มีคราบสกปรก เศษขยะ ฝุ่นละออง และไม่มีหยากไย่

9. มีช่องทางเดิน เพื่อให้สามารถจัดเก็บ และเคลื่อนย้ายของได้โดยสะดวก

  1. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ ดูแลทำความสะอาดไว้อย่างชัดเจน
  2. โต๊ะอาหารหรือโต๊ะเตรียมอาหาร และเก้าอี้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ
  3. ชั้นวางจาน – ชาม – แก้ว เครื่องใช้ในครัว ที่วางภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์สำหรับล้างภาชนะมีความสะอาด และจัดวางอย่างเป็นระเบียบ
  1. อุปกรณ์ไฟฟ้า (ถ้ามี) มีความสะอาดทั้งภายใน และภายนอก
  2. ถังขยะ เปียก – มีฝาปิดมิดชิด และมีป้ายบ่งชี้
  3. อุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไม่ชำรุด
  4. พื้นที่โดยรวมสะอาด ไม่มีกลิ่น ไม่มีเศษขยะ และเศษอาหารตกอยู่
  5. จัดให้มีบริเวณดักแยกไขมัน ก่อนการกำจัดเศษอาหาร
  1. มีป้ายแสดงชื่อผู้รับผิดชอบของหน่วยงาน และข้อมูลในการติดต่อผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานกลาง
  1. ไม่มีวัสดุ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดอันตราย และที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในห้อง รวมถึงไม่กีดขวางต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง
  1. พื้นที่ และอุปกรณ์ภายในห้องสะอาด ไม่มี หยากไย่ ฝุ่น และคราบสกปรก

4. พื้นที่ และสภาพห้องอยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย

  1. มีผู้รับผิดชอบของหน่วยงาน สำหรับเป็นผู้ประสานหน่วยงานกลาง
  2. ไม่มีสิ่งของกีดขวางการเข้าถึงถังดับเพลิงในระยะ 50 ซม.
  3. มีป้ายแสดงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินติดต่อเมื่อเกิดไฟไฟม้ (075-673392-3392)
  1. จัดทำป้ายบ่งชี้จุดให้บริการ ตู้น้ำดื่ม และระบุผู้ประสานงาน
  2. ตู้น้ำดื่ม ต้องมีถังพักน้ำทิ้ง หรือท่อระบายน้ำทิ้งที่อยู่ในสภาพสะอาด และพร้อมใช้งาน (น้ำไม่ล้นถังพัก)
  1. มีถังขยะรองรับ และควรมีฝาปิด
  1. ถังขยะภายในสำนักงาน มีขนาดเล็กมีถุงขยะบรรจุภายในลัง ให้ทิ้งได้เฉพาะขยะแห้งเท่านั้น
  1. ถังขยะภายในสำนักงาน จัดวางในบริเวณที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และไม่กีดขวางทางเดิน
  1. ให้บ่งชี้ตำแหน่งการจัดวางถังขยะ (โดยไม่ต้องติดบนพื้นที่ในการปฏิบัติงานประจำวัน)
  1. จำนวนถังขยะให้มีจำนวนตามความเหมาะสมของหน่วยงาน
Facebook Comments Box
error: Content is protected !!